อาชีพ พนักงานขาย

อาชีพ พนักงานขาย

แนะนำอาชีพนักพนักงานขาย ว่าต้องทำอะไรบ้าง มีการทำงานอย่างไร เพื่อนๆจะได้เอาไปเป็นความรู้ประกอบการเลือกอาชีพที่เหมาะสมและสนใจ ซึ่งการเลือกเรียน สาขาการตลาด เป็นหนึ่งในสาขาของ คณะบริหารธุรกิจ ในที่นี้เราพูดถึง ม.เอกชน ก็คือ ม.รังสิต หรือ มหาวิทยาลัยรังสิตนั่นเอง

นิยามอาชีพ
            ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเจ้าของสถานประกอบกิจการ หรือผลิตภัณฑ์ โดยทำหน้าที่ส่งเสริมการขาย เพื่อให้สินค้ากระจายไปสู่ผู้บริโภคได้มากขึ้น และอย่างทั่วถึง และช่วยประสานงานการส่งเสริมการตลาดให้บรรลุ ผลสำเร็จ และเป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้

การตลาด
การตลาด
ลักษณะของงานที่ทำ
             ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการโฆษณาส่งเสริมการขาย และการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการโดยใช้บุคคล ซึ่งเป็นงานที่จำเป็น และสำคัญมากอย่างหนึ่งขององค์กร อาจมีชื่อเรียกว่าผู้แทนขาย นักขาย ฯลฯ เป็นส่วนหนึ่งของการตลาด( 4 P's ของการตลาด คือ Product Planning, Pricing, Place/Physical Distribution, Promotion and Advertising) โดยทำหน้าที่ ดังนี้
1. ติดต่อลูกค้าในตลาด เพื่อทำการขายการเจรจาสื่อสารระหว่างผู้ขาย และผู้ซื้อหรือกลุ่มผู้ที่คาดหวังว่าจะเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ผู้ซื้อรู้จักสินค้ากระตุ้นความสนใจ และสร้างความพอใจในตัวสินค้า
2. เจรจาเรื่องเงื่อนไขการซื้อขาย และให้คำ-ปรึกษาแก่ลูกค้า รวมทั้ง แก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นก่อน การขาย และหลังการขาย
3. หาลูกค้าใหม่ๆ พนักงานขายบางประเภทอาจจะต้องขายสินค้าที่ไม่มีตัวตนให้กับลูกค้า อย่างเช่น การขายบริการความคุ้มครองการประกันชีวิต ประกันภัย ด้านที่ปรึกษา บริการด้านการโฆษณา ซึ่งต้องใช้ความพยายาม และความคิดสร้างสรรค์ในการขายสินค้า
4. จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ส่วนลดการค้า การแสดงนิทรรศการการค้า การโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่างๆ เป็นเครื่องมือช่วยกระตุ้นในการขาย
5. อาจให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้า เช่นการตรวจสอบผลิตภัณฑ์หลังการซื้อสินค้า หรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุดให้แก่ลูกค้า เป็นต้น
พนักงานขายอาจทำงาน ณ. สถานที่ขายสินค้าซึ่งกำหนดไว้ เช่น ศูนย์การค้า ท่าอากาศยานตามบ้านเรือนส่วนบุคคล หรือตามสถานที่ราชการ และสถานประกอบกิจการต่างๆ เป็นต้น

สภาพการทำงาน
             สภาพการทำงานอาจแบ่งตามประเภทของสินค้าที่ทำการขาย เช่น พนักงานขายสินค้า ผู้บริโภค หรือสินค้าอุตสาหกรรม ถ้าปฏิบัติงานขายอยู่ในอาคารประกอบกิจการ รับคำสั่งซื้อหรือประจำในห้างสรรพสินค้า เรียกพนักงานขายประเภทนี้ว่า Counter Personnel (CP.) ถ้าจะต้องไปติดต่อลูกค้านอกสถานที่ เรียกว่า Sales Executive นอกจากนี้หน้าที่ในความรับผิดชอบ อาจจะต้องส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อพนักงานขายบางตำแหน่งอาจทำหน้าที่เยี่ยมเยียนลูกค้า ร้านค้า ในต่างจังหวัด เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อลูกค้า แนะนำผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าตัวใหม่ หรืออาจตรวจตลาด และเก็บข้อมูล เพื่อทำรายงานบันทึกถึงผู้บังคับบัญชา หรือฝ่ายการตลาด
ถ้าเป็นผู้แทนขายระบบงาน หรือระบบคอมพิวเตอร์ อาจจะต้องทำงานเป็นทีมในการเสนอขาย และสาธิตให้กับคณะกรรมการผู้จัดซื้อขององค์กร หรือโรงงาน ในทีมงานอาจจะมีเจ้าหน้าที่เทคนิค วิศวกร เป็นผู้ให้รายละเอียดตอบข้อซักถามต่างๆ ของลูกค้า จากนั้นพนักงานขายซึ่งทำหน้าที่ติดต่อตั้งแต่เริ่มต้นจะเป็นผู้ประสานงาน และเจรจาปิดการขายทีมพนักงานขายอาจจะต้องเข้าร่วมประชุม สัมมนา เพื่อให้ความรู้ในการถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อของลูกค้า เพื่อให้ได้มาถึงคำสั่งในความต้องการรูปแบบของสินค้า และการบริการ
นอกจากนี้ ยังมีพนักงานขายที่ทำหน้าที่ขายตรงประเภทชั้นเดียว หรือหลายชั้น ซึ่งมักจะขายสินค้า ผู้บริโภค และประเภทเครื่องสำอาง โดยอาศัยเครือข่ายลูกโซ่ ของผู้ขายสมาชิก และผู้ซื้อสินค้าก็จะได้เป็นสมาชิก และส่วนลดการซื้อสินค้าตามเงื่อนไขของเจ้าของผู้บริหาร


แหล่งที่มา : http://jobnorththailand.com/learning/100work/work505.php